คู่มือผู้ใช้ ยกเลิก

สร้างภาพเคลื่อนไหวแบบเฟรม

  1. Photoshop User Guide
  2. Introduction to Photoshop
    1. Dream it. Make it.
    2. What's new in Photoshop
    3. Edit your first photo
    4. Create documents
    5. Photoshop | Common Questions
    6. Photoshop system requirements
    7. Get to know Photoshop
  3. Photoshop and other Adobe products and services
    1. Work with Illustrator artwork in Photoshop
    2. Work with Photoshop files in InDesign
    3. Substance 3D Materials for Photoshop
    4. Use the Capture in-app extension in Photoshop
  4. Photoshop on the iPad (not available in mainland China)
    1. Photoshop on the iPad | Common questions
    2. Get to know the workspace
    3. System requirements | Photoshop on the iPad
    4. Create, open, and export documents
    5. Add photos
    6. Work with layers
    7. Draw and paint with brushes
    8. Make selections and add masks
    9. Retouch your composites
    10. Work with adjustment layers
    11. Adjust the tonality of your composite with Curves
    12. Apply transform operations
    13. Crop and rotate your composites
    14. Rotate, pan, zoom, and reset the canvas
    15. Work with Type layers
    16. Work with Photoshop and Lightroom
    17. Get missing fonts in Photoshop on the iPad
    18. Japanese Text in Photoshop on the iPad
    19. Manage app settings
    20. Touch shortcuts and gestures
    21. Keyboard shortcuts
    22. Edit your image size
    23. Livestream as you create in Photoshop on the iPad
    24. Correct imperfections with the Healing Brush
    25. Create brushes in Capture and use them in Photoshop on the iPad
    26. Work with Camera Raw files
    27. Create and work with Smart Objects
    28. Adjust exposure in your images with Dodge and Burn
    29. Auto adjustment commands in Photoshop on the iPad
    30. Smudge areas in your images with Photoshop on the iPad
    31. Saturate or desaturate your images using Sponge tool
    32. Content aware fill for iPad
  5. Photoshop on the web (not available in mainland China)
    1. Common questions
    2. System requirements
    3. Keyboard shortcuts
    4. Supported file types
    5. Introduction to the workspace
    6. Open and work with cloud documents
    7. Generative AI features
    8. Basic concepts of editing
    9. Quick Actions
    10. Work with layers
    11. Retouch images and remove imperfections
    12. Make quick selections
    13. Image improvements with Adjustment Layers
    14. Move, transform, and crop images
    15. Draw and paint
    16. Work with Type layers
    17. Work with anyone on the web
    18. Manage app settings
    19. Generate Image
    20. Generate Background
    21. Reference Image
  6. Photoshop (beta) (not available in mainland China)
    1. Get started with Creative Cloud Beta apps
    2. Photoshop (beta) on the desktop
    3. Generate image with descriptive text prompts
    4. Generate background with descriptive text prompts
  7. Generative AI (not available in mainland China) 
    1. Common questions on generative AI in Photoshop
    2. Generative Fill in Photoshop on the desktop
    3. Generative Expand in Photoshop on the desktop
    4. Generative Fill in Photoshop on the iPad
    5. Generative Expand in Photoshop on the iPad
    6. Generative AI features in Photoshop on the web
  8. Content authenticity (not available in mainland China)
    1. Content credentials in Photoshop
    2. Identity and provenance for NFTs
    3. Connect accounts for creative attribution
  9. Cloud documents (not available in mainland China)
    1. Photoshop cloud documents | Common questions
    2. Photoshop cloud documents | Workflow questions
    3. Manage and work with cloud documents in Photoshop
    4. Upgrade cloud storage for Photoshop
    5. Unable to create or save a cloud document
    6. Solve Photoshop cloud document errors
    7. Collect cloud document sync logs
    8. Invite others to edit your cloud documents
    9. Share files and comment in-app
  10. Workspace
    1. Workspace basics
    2. Preferences
    3. Learn faster with the Photoshop Discover Panel
    4. Create documents
    5. Place files
    6. Default keyboard shortcuts
    7. Customize keyboard shortcuts
    8. Tool galleries
    9. Performance preferences
    10. Use tools
    11. Presets
    12. Grid and guides
    13. Touch gestures
    14. Use the Touch Bar with Photoshop
    15. Touch capabilities and customizable workspaces
    16. Technology previews
    17. Metadata and notes
    18. Touch capabilities and customizable workspaces
    19. Place Photoshop images in other applications
    20. Rulers
    21. Show or hide non-printing Extras
    22. Specify columns for an image
    23. Undo and history
    24. Panels and menus
    25. Position elements with snapping
    26. Position with the Ruler tool
  11. Web, screen, and app design
    1. Photoshop for design
    2. Artboards
    3. Device Preview
    4. Copy CSS from layers
    5. Slice web pages
    6. HTML options for slices
    7. Modify slice layout
    8. Work with web graphics
    9. Create web photo galleries
  12. Image and color basics
    1. How to resize images
    2. Work with raster and vector images
    3. Image size and resolution
    4. Acquire images from cameras and scanners
    5. Create, open, and import images
    6. View images
    7. Invalid JPEG Marker error | Opening images
    8. Viewing multiple images
    9. Customize color pickers and swatches
    10. High dynamic range images
    11. Match colors in your image
    12. Convert between color modes
    13. Color modes
    14. Erase parts of an image
    15. Blending modes
    16. Choose colors
    17. Customize indexed color tables
    18. Image information
    19. Distort filters are unavailable
    20. About color
    21. Color and monochrome adjustments using channels
    22. Choose colors in the Color and Swatches panels
    23. Sample
    24. Color mode or Image mode
    25. Color cast
    26. Add a conditional mode change to an action
    27. Add swatches from HTML CSS and SVG
    28. Bit depth and preferences
  13. Layers
    1. Layer basics
    2. Nondestructive editing
    3. Create and manage layers and groups
    4. Select, group, and link layers
    5. Place images into frames
    6. Layer opacity and blending
    7. Mask layers
    8. Apply Smart Filters
    9. Layer comps
    10. Move, stack, and lock layers
    11. Mask layers with vector masks
    12. Manage layers and groups
    13. Layer effects and styles
    14. Edit layer masks
    15. Extract assets
    16. Reveal layers with clipping masks
    17. Generate image assets from layers
    18. Work with Smart Objects
    19. Blending modes
    20. Combine multiple images into a group portrait
    21. Combine images with Auto-Blend Layers
    22. Align and distribute layers
    23. Copy CSS from layers
    24. Load selections from a layer or layer mask's boundaries
    25. Knockout to reveal content from other layers
  14. Selections
    1. Get started with selections
    2. Make selections in your composite
    3. Select and Mask workspace
    4. Select with the marquee tools
    5. Select with the lasso tools
    6. Adjust pixel selections
    7. Move, copy, and delete selected pixels
    8. Create a temporary quick mask
    9. Select a color range in an image
    10. Convert between paths and selection borders
    11. Channel basics
    12. Save selections and alpha channel masks
    13. Select the image areas in focus
    14. Duplicate, split, and merge channels
    15. Channel calculations
  15. Image adjustments
    1. Replace object colors
    2. Perspective warp
    3. Reduce camera shake blurring
    4. Healing brush examples
    5. Export color lookup tables
    6. Adjust image sharpness and blur
    7. Understand color adjustments
    8. Apply a Brightness/Contrast adjustment
    9. Adjust shadow and highlight detail
    10. Levels adjustment
    11. Adjust hue and saturation
    12. Adjust vibrance
    13. Adjust color saturation in image areas
    14. Make quick tonal adjustments
    15. Apply special color effects to images
    16. Enhance your image with color balance adjustments
    17. High dynamic range images
    18. View histograms and pixel values
    19. Match colors in your image
    20. Crop and straighten photos
    21. Convert a color image to black and white
    22. Adjustment and fill layers
    23. Curves adjustment
    24. Blending modes
    25. Target images for press
    26. Adjust color and tone with Levels and Curves eyedroppers
    27. Adjust HDR exposure and toning
    28. Dodge or burn image areas
    29. Make selective color adjustments
  16. Adobe Camera Raw
    1. Camera Raw system requirements
    2. What's new in Camera Raw
    3. Introduction to Camera Raw
    4. Create panoramas
    5. Supported lenses
    6. Vignette, grain, and dehaze effects in Camera Raw
    7. Default keyboard shortcuts
    8. Automatic perspective correction in Camera Raw
    9. Radial Filter in Camera Raw
    10. Manage Camera Raw settings
    11. Open, process, and save images in Camera Raw
    12. Repair images with the Enhanced Spot Removal tool in Camera Raw
    13. Rotate, crop, and adjust images
    14. Adjust color rendering in Camera Raw
    15. Process versions in Camera Raw
    16. Make local adjustments in Camera Raw
  17. Image repair and restoration
    1. Remove objects from your photos with Content-Aware Fill
    2. Content-Aware Patch and Move
    3. Retouch and repair photos
    4. Correct image distortion and noise
    5. Basic troubleshooting steps to fix most issues
  18. Image enhancement and transformation
    1. Replace sky in your images
    2. Transform objects
    3. Adjust crop, rotation, and canvas size
    4. How to crop and straighten photos
    5. Create and edit panoramic images
    6. Warp images, shapes, and paths
    7. Vanishing Point
    8. Content-aware scaling
    9. Transform images, shapes, and paths
  19. Drawing and painting
    1. Paint symmetrical patterns
    2. Draw rectangles and modify stroke options
    3. About drawing
    4. Draw and edit shapes
    5. Painting tools
    6. Create and modify brushes
    7. Blending modes
    8. Add color to paths
    9. Edit paths
    10. Paint with the Mixer Brush
    11. Brush presets
    12. Gradients
    13. Gradient interpolation
    14. Fill and stroke selections, layers, and paths
    15. Draw with the Pen tools
    16. Create patterns
    17. Generate a pattern using the Pattern Maker
    18. Manage paths
    19. Manage pattern libraries and presets
    20. Draw or paint with a graphics tablet
    21. Create textured brushes
    22. Add dynamic elements to brushes
    23. Gradient
    24. Paint stylized strokes with the Art History Brush
    25. Paint with a pattern
    26. Sync presets on multiple devices
    27. Migrate presets, actions, and settings
  20. Text
    1. Add and edit the text
    2. Unified Text Engine
    3. Work with OpenType SVG fonts
    4. Format characters
    5. Format paragraphs
    6. How to create type effects
    7. Edit text
    8. Line and character spacing
    9. Arabic and Hebrew type
    10. Fonts
    11. Troubleshoot fonts
    12. Asian type
    13. Create type
  21. Filters and effects
    1. Use the Blur Gallery
    2. Filter basics
    3. Filter effects reference
    4. Add Lighting Effects
    5. Use the Adaptive Wide Angle filter
    6. Use the Oil Paint filter
    7. Use the Liquify filter
    8. Layer effects and styles
    9. Apply specific filters
    10. Smudge image areas
  22. Saving and exporting
    1. Save your files in Photoshop
    2. Export your files in Photoshop
    3. Supported file formats
    4. Save files in graphics formats
    5. Move designs between Photoshop and Illustrator
    6. Save and export video and animations
    7. Save PDF files
    8. Digimarc copyright protection
  23. Color Management
    1. Understanding color management
    2. Keeping colors consistent
    3. Color settings
    4. Duotones
    5. Work with color profiles
    6. Color-managing documents for online viewing
    7. Color-managing documents when printing
    8. Color-managing imported images
    9. Proofing colors
  24. Web, screen, and app design
    1. Photoshop for design
    2. Artboards
    3. Device Preview
    4. Copy CSS from layers
    5. Slice web pages
    6. HTML options for slices
    7. Modify slice layout
    8. Work with web graphics
    9. Create web photo galleries
  25. Video and animation
    1. Video editing in Photoshop
    2. Edit video and animation layers
    3. Video and animation overview
    4. Preview video and animations
    5. Paint frames in video layers
    6. Import video files and image sequences
    7. Create frame animations
    8. Creative Cloud 3D Animation (Preview)
    9. Create timeline animations
    10. Create images for video
  26. Printing
    1. Print 3D objects
    2. Print from Photoshop
    3. Print with color management
    4. Contact Sheets and PDF Presentations
    5. Print photos in a picture package layout
    6. Print spot colors
    7. Print images to a commercial printing press
    8. Improve color prints from Photoshop
    9. Troubleshoot printing problems | Photoshop
  27. Automation
    1. Creating actions
    2. Create data-driven graphics
    3. Scripting
    4. Process a batch of files
    5. Play and manage actions
    6. Add conditional actions
    7. About actions and the Actions panel
    8. Record tools in actions
    9. Add a conditional mode change to an action
    10. Photoshop UI toolkit for plug-ins and scripts
  28. Troubleshooting
    1. Fixed issues 
    2. Known issues
    3. Optimize Photoshop performance
    4. Basic troubleshooting
    5. Troubleshoot crash or freeze
    6. Troubleshoot program errors
    7. Troubleshoot scratch disk full errors
    8. Troubleshoot GPU and graphics driver issues
    9. Find missing tools
    10. Photoshop 3D | Common questions around discontinued features
หมายเหตุ:

สำหรับ Photoshop เวอร์ชันที่เก่ากว่า Photoshop CC นั้น บางฟังก์ชันที่กล่าวถึงในบทความนี้อาจพร้อมใช้งานต่อเมื่อคุณมี Photoshop Extended เท่านั้น Photoshop ไม่มีข้อเสนอ Extended แยกต่างหาก คุณสมบัติทั้งหมดใน Photoshop Extended เป็นส่วนหนึ่งของ Photoshop

Try out the latest features and enhancements.

เวิร์กโฟลว์การทำภาพเคลื่อนไหวแบบเฟรม

ใน Photoshop คุณจะต้องใช้แผงไทม์ไลน์เพื่อสร้างเฟรมภาพเคลื่อนไหว แต่ละเฟรมจะแสดงถึงการกำหนดค่าของเลเยอร์

นอกจากนี้ คุณยังสามารถสร้างภาพเคลื่อนไหวโดยใช้ไทม์ไลน์และคีย์เฟรมได้เช่นกัน ดู การสร้างภาพเคลื่อนไหวไทม์ไลน์

เวิร์กโฟลว์การทำภาพเคลื่อนไหวแบบเฟรมของ Photoshop
ภาพประกอบของภาพเคลื่อนไหว รูปจักรยานล้อเดียวอยู่บนเลเยอร์ของตัวเอง ตำแหน่งของเลเยอร์จะเปลี่ยนไปในแต่ละเฟรมของ ภาพเคลื่อนไหว

ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้เพื่อสร้างภาพเคลื่อนไหวด้วยเฟรมใน Photoshop

  1. เปิดเอกสารใหม่ หากยังมองไม่เห็น ให้เปิดแผง ไทม์ไลน์ และ เลเยอร์ ขึ้นมา ดูให้แน่ใจว่าแผง ไทม์ไลน์ อยู่ในโหมดภาพเคลื่อนไหวแบบเฟรม ตรงกลางของ แผง ไทม์ไลน์ ให้เลือกลูกศรชี้ลงเพื่อเลือก สร้างภาพเคลื่อนไหวแบบเฟรม จากนั้นเลือกปุ่มถัดจากลูกศร

  2. เพิ่มเลเยอร์หรือแปลงเลเยอร์พื้นหลัง เนื่องจากเลเยอร์พื้นหลังไม่สามารถทำเป็นภาพเคลื่อนไหวได้ ให้เพิ่มเลเยอร์ใหม่หรือ แปลงเลเยอร์พื้นหลังเป็นเลเยอร์ปกติ

  3. เพิ่มเนื้อหาลงในภาพเคลื่อนไหวของคุณ หากภาพเคลื่อนไหวของคุณมีหลายวัตถุที่เคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ หรือหากคุณต้องการเปลี่ยนสีของวัตถุหรือเปลี่ยนเนื้อหาในเฟรมโดยสิ้นเชิง ให้สร้างวัตถุเหล่านั้นในเลเยอร์แยกต่างหาก

  4. สร้างภาพเคลื่อนไหวแบบเฟรม ในแผง ไทม์ไลน์ ให้เลือกลูกศรลงเพื่อเลือก สร้างภาพเคลื่อนไหวแบบเฟรม

    สร้างภาพเคลื่อนไหวแบบเฟรม

  5. แก้ไขเลเยอร์ต่างๆ ของเฟรมที่เลือก 

    • เปิดและปิดการมองเห็นของเลเยอร์ต่างๆ
    • เปลี่ยนตำแหน่งของวัตถุหรือเลเยอร์เพื่อทำให้เนื้อหาของเลเยอร์เคลื่อนไหว
    • เปลี่ยนความทึบของเลเยอร์เพื่อทำให้เนื้อหาเฟดเข้าหรือเฟดออก
    • เปลี่ยนโหมดการผสมผสานของเลเยอร์
    • เพิ่มสไตล์ให้กับเลเยอร์

    Photoshop มีเครื่องมือสำหรับ การรักษาคุณลักษณะของเลเยอร์ให้เหมือนกันในทุกเฟรม 

  6. เพิ่มเฟรมและแก้ไขเลเยอร์ตามต้องการ จำนวนเฟรมที่คุณสามารถสร้างได้จะถูกจำกัดด้วยขนาดหน่วยความจำของระบบที่พร้อมใช้งานกับ Photoshop เท่านั้น

    สร้างเฟรมใหม่ระหว่างเฟรมที่มีอยู่สองเฟรมในแผงควบคุมด้วยการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาระหว่างกลางของสองเฟรมนั้นโดยใช้คำสั่ง ทวีน นี่เป็นวิธีที่รวดเร็วในการทำให้วัตถุเคลื่อนที่ผ่านหน้าจอหรือเฟดเข้าหรือเฟดออก 

  7. ตั้งค่าตัวเลือกการหน่วงเวลาเฟรมและการวนซ้ำ กำหนด การหน่วงเวลาให้กับแต่ละเฟรม และ ระบุการวนซ้ำ เพื่อให้ภาพเคลื่อนไหวแสดงหนึ่งรอบ หรือตามจำนวนรอบที่กำหนด หรืออย่างต่อเนื่อง 

  8. การแสดงตัวอย่างภาพเคลื่อนไหว ใช้ตัวควบคุมในแผงไทม์ไลน์ เพื่อเล่นภาพเคลื่อนไหวในขณะที่คุณสร้าง จากนั้นใช้คำสั่ง บันทึกสำหรับเว็บ เพื่อดูตัวอย่างภาพเคลื่อนไหวในเว็บเบราว์เซอร์ของคุณ 

  9. เพิ่มประสิทธิภาพของภาพเคลื่อนไหว เพื่อการดาวน์โหลดที่มีประสิทธิภาพ

  10. บันทึกภาพเคลื่อนไหวโดยใช้ขั้นตอนต่อไปนี้ 

    • บันทึกเป็น GIF แบบเคลื่อนไหวโดยใช้คำสั่ง บันทึกสำหรับเว็บ

    • บันทึกในรูปแบบ Photoshop (PSD) เพื่อให้คุณสามารถดำเนินการกับภาพเคลื่อนไหวนั้นเพิ่มเติมในภายหลังได้

    • บันทึกเป็นไฟล์ ลำดับภาพ ภาพยนตร์ QuickTime หรือเป็นไฟล์แยกต่างหาก 

เพิ่มเฟรมให้กับภาพเคลื่อนไหว

การเพิ่มเฟรมเป็นขั้นตอนแรกในการสร้างภาพเคลื่อนไหว หากคุณเปิดรูปภาพไว้ แผงไทม์ไลน์จะแสดงรูปภาพนั้นเป็นเฟรมแรกในภาพเคลื่อนไหวใหม่ แต่ละเฟรมที่คุณเพิ่มเข้าไปจะเริ่มต้นเป็นการทำซ้ำกับเฟรมก่อนหน้า จากนั้น คุณจะสามารถทำการเปลี่ยนแปลงเฟรมนั้นได้โดยใช้แผงเลเยอร์

  1. ดูให้แน่ใจว่าแผงไทม์ไลน์อยู่ในโหมดภาพเคลื่อนไหวแบบเฟรม

  2. คลิกปุ่มทำซ้ำเฟรมที่เลือก 

เลือกเฟรมภาพเคลื่อนไหว

ก่อนที่คุณจะสามารถทำงานกับเฟรมได้ คุณต้องเลือกเฟรมนั้นเป็นเฟรมปัจจุบันเสียก่อน เนื้อหาของเฟรมปัจจุบันจะปรากฏในหน้าต่างเอกสาร

ในแผงไทม์ไลน์ เฟรมปัจจุบันจะแสดงด้วยเส้นขอบแคบ (ภายในไฮไลต์การเลือกที่เป็นเงา) รอบภาพขนาดย่อของเฟรม เฟรมที่เลือกจะแสดงด้วยไฮไลต์ที่เป็นเงารอบๆ ภาพขนาดย่อของเฟรม

เลือกเฟรมภาพเคลื่อนไหวหนึ่งเฟรม

  1. เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ในแผงไทม์ไลน์

    • คลิกหนึ่งเฟรม

    • คลิกปุ่ม เลือกเฟรมถัดไป  เพื่อเลือกเฟรมถัดไปในชุดเป็นเฟรมปัจจุบัน

    • คลิกปุ่ม เลือกเฟรมก่อนหน้า  เพื่อเลือกเฟรมก่อนหน้าในชุดเป็นเฟรมปัจจุบัน

    • คลิกปุ่ม เลือกเฟรมแรก  เพื่อเลือกเฟรมแรกในชุดเป็นเฟรมปัจจุบัน

เลือกเฟรมภาพเคลื่อนไหวหลายเฟรม

  1. ในแผงไทม์ไลน์ ให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้

    • หากต้องการเลือกหลายเฟรมที่ติดกัน ให้กด Shift แล้วคลิก เฟรมที่สอง เฟรมที่สองและเฟรมทั้งหมดระหว่างเฟรมแรก กับเฟรมที่สองจะถูกเพิ่มเข้าไปในการเลือก

    • หากต้องการเลือกหลายเฟรมที่ไม่ต่อเนื่อง ให้กด Ctrl แล้วคลิกเพื่อเลือก (Windows) หรือกด Command แล้วคลิกเพื่อเลือก (Mac OS) เฟรมเพิ่มเติมเพื่อ เพิ่มเฟรมเหล่านั้นลงไปในส่วนที่เลือก

    • หากต้องการเลือกเฟรมทั้งหมด ให้เลือก เลือกเฟรมทั้งหมด จากเมนูแผง

    • หากต้องการยกเลิกการเลือกเฟรมในการเลือกหลายเฟรม ให้กด Ctrl แล้วคลิก เพื่อเลือก (Windows) หรือกด Command แล้วคลิกเพื่อเลือก (Mac OS) ที่เฟรมนั้น

แก้ไขเฟรมภาพเคลื่อนไหว

  1. ในแผงไทม์ไลน์ ให้เลือกอย่างน้อยหนึ่งเฟรม

  2. ให้เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
    • หากต้องการแก้ไขเนื้อหาของวัตถุในเฟรมภาพเคลื่อนไหว ให้ใช้แผงเลเยอร์เพื่อปรับเปลี่ยนเลเยอร์ในภาพที่มีผลต่อเฟรมนั้น
    • หากต้องการเปลี่ยนตำแหน่งของวัตถุในเฟรมภาพเคลื่อนไหว ให้เลือกเลเยอร์ที่มีวัตถุในแผงเลเยอร์แล้วลากไปยังตำแหน่งใหม่
    หมายเหตุ:

    คุณสามารถเลือกและเปลี่ยนตำแหน่งของหลายๆ เฟรมได้ อย่างไรก็ตาม หากคุณลากเฟรมที่ไม่ต่อเนื่องกันหลายๆ เฟรม เฟรมเหล่านั้นจะถูกวางติดกันในตำแหน่งใหม่

    • หากต้องการย้อนลำดับของเฟรมภาพเคลื่อนไหว ให้เลือก ย้อนเฟรม จากเมนูแผง
    หมายเหตุ:

    เฟรมต่างๆ ที่คุณต้องการย้อนกลับ ไม่จำเป็นต้องอยู่ติดกัน คุณสามารถย้อนกลับเฟรมที่เลือกใดๆ ได้

    • หากต้องการลบเฟรมที่เลือก ให้เลือก ลบเฟรม จากเมนูแผงไทม์ไลน์ หรือคลิกไอคอนลบ  จากนั้นคลิก ใช่ เพื่อยืนยันการลบ คุณยังสามารถลากเฟรมที่เลือกไปยังไอคอนลบได้อีกด้วย

คุณสมบัติรวมเลเยอร์ในเฟรมภาพเคลื่อนไหว

ปุ่ม รวมต่างๆ (รวมตำแหน่งเลเยอร์, รวมการมองเห็นของเลเยอร์ และ รวมสไตล์เลเยอร์) ในแผงเลเยอร์จะกำหนดว่าการเปลี่ยนแปลงที่ คุณทำกับคุณลักษณะต่างๆ ในเฟรมภาพเคลื่อนไหวที่ใช้งานอยู่จะมีผลกับ เฟรมอื่นๆ ในเลเยอร์เดียวกันอย่างไร เมื่อเลือกปุ่มรวมปุ่มหนึ่ง คุณลักษณะนั้นจะถูกเปลี่ยนแปลงในเฟรมทั้งหมดในเลเยอร์ที่ใช้งานอยู่ เมื่อปุ่มนั้นถูกยกเลิกการเลือก การเปลี่ยนแปลงจะมีผลกับเฉพาะเฟรมที่ใช้งานอยู่ เท่านั้น

ตัวเลือก เผยแพร่เฟรม 1 ในแผงเลเยอร์ยังเป็นการ กำหนดว่าการเปลี่ยนแปลงที่คุณทำกับคุณลักษณะต่างๆ ในเฟรมแรก จะมีผลกับเฟรมอื่นๆ ในเลเยอร์เดียวกันอย่างไรอีกด้วย เมื่อเลือกตัวเลือกนี้ คุณจะสามารถเปลี่ยนคุณลักษณะในเฟรมแรก จากนั้นเฟรมทั้งหมดที่ตามมา ในเลเยอร์ที่ใช้งานอยู่ก็จะเปลี่ยนตามเฟรมแรก (และยังคงรักษาภาพเคลื่อนไหวที่คุณสร้างไว้แล้ว)

คุณสมบัติรวมเลเยอร์

  1. ในแผงไทม์ไลน์ ให้เปลี่ยนคุณลักษณะของหนึ่งเฟรม

  2. ในแผงเลเยอร์ ให้คลิก รวมตำแหน่งเลเยอร์  รวม การมองเห็นของเลเยอร์ หรือรวม สไตล์เลเยอร์ เพื่อ ให้นำคุณลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไปใช้กับเฟรมอื่นๆ ทั้งหมดในเลเยอร์ ที่ใช้งานอยู่

เผยแพร่เฟรม 1

  1. ในแผงเลเยอร์ ให้เลือกตัวเลือก เผยแพร่เฟรม 1
  2. ในแผงไทม์ไลน์ ให้เปลี่ยนคุณลักษณะของเฟรมแรก

    คุณลักษณะที่เปลี่ยนแปลงจะถูกนำไปใช้ (โดยสัมพันธ์กัน) กับเฟรม ที่ตามมาทั้งหมดในเลเยอร์

หมายเหตุ:

นอกจากนี้ คุณยังสามารถเผยแพร่เฟรมโดยการกดปุ่ม Shift แล้วคลิกเลือก กลุ่มเฟรมที่ต่อเนื่องกันในเลเยอร์แล้วเปลี่ยนคุณลักษณะ ของเฟรมที่เลือกได้เช่นกัน

แสดงหรือซ่อนปุ่มรวมเลเยอร์

  1. เลือกตัวเลือกภาพเคลื่อนไหวจากเมนูแผงเลเยอร์ แล้วเลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้

    อัตโนมัติ

    แสดงปุ่มรวมเลเยอร์เมื่อแผงไทม์ไลน์เปิดอยู่

    แสดงเสมอ

    แสดงปุ่มรวมเลเยอร์ไม่ว่าแผงไทม์ไลน์จะเปิดหรือปิดอยู่

    ซ่อนเสมอ

    ซ่อนปุ่มรวมเลเยอร์ไม่ว่าแผงไทม์ไลน์จะเปิดหรือปิดอยู่

คัดลอกเฟรมที่มีคุณสมบัติเลเยอร์

เพื่อให้ เข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อคุณคัดลอกและวางเฟรม ให้นึกถึง เฟรมนั้นว่าเป็นเวอร์ชันที่ซ้ำกันของภาพที่มีการกำหนดค่าเลเยอร์เฉพาะ เมื่อคุณคัดลอกเฟรม คุณจะคัดลอกการกำหนดค่าของเลเยอร์ต่างๆ ด้วย (รวมถึง การตั้งค่าการมองเห็น ตำแหน่ง และคุณสมบัติอื่นๆ ของแต่ละเลเยอร์) เมื่อคุณวางเฟรม คุณจะนำการกำหนดค่าเลเยอร์นั้นไปใช้กับ เฟรมปลายทาง

  1. เลือกเฟรมอย่างน้อยหนึ่งเฟรมที่คุณต้องการคัดลอกในแผงไทม์ไลน์

  2. เลือก คัดลอกเฟรม จากเมนูแผง
  3. เลือกเฟรมปลายทางหนึ่งเฟรมหรือหลายเฟรมในภาพเคลื่อนไหวปัจจุบัน หรือภาพเคลื่อนไหวอื่น
  4. เลือก วางเฟรม จากเมนูแผง
  5. เลือกวิธีการวาง:

    แทนที่เฟรม

    แทนที่เฟรมที่เลือกด้วยเฟรมที่คัดลอกมา ไม่มีการเพิ่มเลเยอร์ใหม่ คุณสมบัติของแต่ละเลเยอร์ที่มีอยู่ใน เฟรมปลายทางต่างๆ จะถูกแทนที่ด้วยแต่ละเลเยอร์ของเฟรมที่คัดลอกมา เมื่อคุณวางเฟรมระหว่างภาพ เลเยอร์ใหม่จะถูกเพิ่มลงใน รูปภาพ อย่างไรก็ตาม จะมีเพียงเลเยอร์ที่วางเท่านั้นที่มองเห็นได้ในเฟรม ปลายทาง (เลเยอร์ที่มีอยู่จะถูกซ่อนไว้)

    วางบนส่วนที่เลือก

    เพิ่มเนื้อหาของเฟรมที่วางเป็นเลเยอร์ใหม่ ในภาพ เมื่อคุณวางเฟรมลงในภาพเดียวกัน การใช้ตัวเลือกนี้ จะเพิ่มจำนวนเลเยอร์ในภาพเป็นสองเท่า ในเฟรม ปลายทาง เลเยอร์ที่วางใหม่จะมองเห็นได้ และเลเยอร์เดิม จะถูกซ่อนไว้ ในเฟรมที่ไม่ใช่เฟรมปลายทาง เฟรมที่วางใหม่จะถูกซ่อนไว้

    วางอยู่หน้าส่วนที่เลือกหรืออยู่หลังส่วนที่เลือก

    เพิ่มเฟรมที่คัดลอกให้อยู่หน้าหรือหลังเฟรม ปลายทาง เมื่อคุณวางเฟรมระหว่างภาพ เลเยอร์ใหม่จะถูกเพิ่มลงใน รูปภาพ อย่างไรก็ตามจะมีเพียงเลเยอร์ที่วางแล้วเท่านั้นที่มองเห็นได้ใน เฟรมใหม่ (เลเยอร์ที่มีอยู่จะถูกซ่อนไว้)

  6. (ไม่บังคับ) ในการลิงก์เลเยอร์ที่วางในแผงเลเยอร์ ให้เลือก ลิงก์เลเยอร์ที่เพิ่ม

    ตัวเลือกนี้จะใช้ได้เฉพาะเมื่อวางเฟรมลงใน เอกสารอื่น เลือกตัวเลือกนี้เมื่อคุณวางแผนที่จะเปลี่ยนตำแหน่งเลเยอร์ที่วาง เป็นชุดเดียวกัน

  7. คลิก ตกลง

สร้างเฟรมโดยใช้การทวีน

คำว่า การทวีน (tweening) มาจากคำว่า "in betweening (ใน ระหว่าง)" ซึ่งเป็นคำศัพท์การทำภาพเคลื่อนไหวแบบดั้งเดิมที่ใช้ในการอธิบาย กระบวนการนี้ การทวีน (หรือที่เรียกว่า การแทรก) สามารถช่วย ลดเวลาที่ต้องใช้ในการสร้างเอฟเฟ็กต์ภาพเคลื่อนไหวได้อย่างมาก เช่น การเฟด เข้าหรือเฟดออก หรือการเคลื่อนย้ายองค์ประกอบข้ามเฟรม คุณสามารถแก้ไข เฟรมที่เกิดจากการทวีนแต่ละเฟรมได้หลังจากที่คุณสร้างขึ้นมา

คุณ ต้องใช้คำสั่งทวีนเพื่อเพิ่มหรือปรับชุดของเฟรมต่างๆ ระหว่างเฟรมสองเฟรมที่มีอยู่โดยอัตโนมัติ โดยการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติเลเยอร์ (ตำแหน่ง ความทึบ และพารามิเตอร์เอฟเฟ็กต์) อย่างสม่ำเสมอระหว่างเฟรมใหม่ ต่างๆ เพื่อสร้างรูปลักษณ์ของการเคลื่อนไหว ตัวอย่างเช่น หากคุณ ต้องการให้เฟดเลเยอร์หนึ่งออก ให้ตั้งค่าความทึบของเลเยอร์ในเฟรมเริ่มต้น เป็น 100% จากนั้นตั้งค่าความทึบของเลเยอร์เดียวกันในเฟรมสิ้นสุด เป็น 0% เมื่อคุณทวีนระหว่างสองเฟรมนี้ ความทึบ ของเลเยอร์ดังกล่าวจะค่อยๆ ลดลงอย่างสม่ำเสมอในเฟรมใหม่ต่างๆ ที่แทรกระหว่างกลาง

Photoshop จะสร้างเฟรมโดยใช้การทวีน
การใช้การทวีนเพื่อทำให้ข้อความเคลื่อนไหว

  1. ในการ ใช้การทวีนกับเลเยอร์ที่ต้องการ ให้เลือกเลเยอร์ในแผงเลเยอร์
  2. เลือกเฟรมเดียวหรือหลายเฟรมที่ต่อเนื่องกัน
    • หากคุณเลือกเฟรมเดียว ให้คุณเลือก ว่าจะทวีนระหว่างเฟรมที่เลือกกับเฟรมก่อนหน้าหรือกับเฟรมถัดไป

    • หากคุณเลือกสองเฟรมที่ต่อเนื่องกัน เฟรมใหม่ จะถูกเพิ่มเข้ามาระหว่างเฟรมทั้งสอง

    • หากคุณเลือกมากกว่าสองเฟรม เฟรมที่อยู่ ระหว่างเฟรมแรกและเฟรมสุดท้ายที่เลือกจะถูกปรับเปลี่ยนโดยการดำเนินการ ของการทวีน

    • หากคุณเลือกเฟรมแรกและเฟรมสุดท้ายในภาพเคลื่อนไหว เฟรมเหล่านี้จะถือว่าต่อเนื่องกัน และมีการเพิ่มเฟรมที่ทวีนต่อจาก เฟรมสุดท้าย (วิธีการทวีนนี้มีประโยชน์เมื่อภาพเคลื่อนไหว ถูกตั้งค่าให้วนซ้ำหลายครั้ง)

  3. เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
    • คลิกปุ่มทวีน  ในแผงไทม์ไลน์

    • เลือกทวีนจากเมนูแผง

  4. ระบุหนึ่งเลเยอร์หรือหลายเลเยอร์ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงใน เฟรมที่เพิ่ม:

    เลเยอร์ทั้งหมด

    เปลี่ยนแปลงทุกเลเยอร์ในหนึ่งเฟรมหรือหลายเฟรมที่เลือกไว้

    เลเยอร์ที่เลือก

    เปลี่ยนแปลงเฉพาะเลเยอร์ที่เลือกในปัจจุบันใน หนึ่งเฟรมหรือหลายเฟรมที่เลือกไว้

  5. ระบุคุณสมบัติเลเยอร์ที่ต้องการเปลี่ยนแปลง ได้แก่

    ตำแหน่ง

    เปลี่ยนแปลงตำแหน่งของเนื้อหาของเลเยอร์ในเฟรมใหม่ต่างๆ ที่อยู่ระหว่างเฟรมเริ่มต้นและเฟรมสิ้นสุดให้สม่ำเสมอกัน

    ความทึบแสง

    เปลี่ยนแปลงความทึบของเฟรมใหม่ต่างๆ ที่อยู่ระหว่างเฟรมเริ่มต้นและเฟรมสิ้นสุดอย่างสม่ำเสมอ

    เอฟเฟ็กต์

    เปลี่ยนแปลงการตั้งค่าพารามิเตอร์ของเอฟเฟ็กต์เลเยอร์ ที่อยู่ระหว่างเฟรมเริ่มต้นและเฟรมสิ้นสุดอย่างสม่ำเสมอ

  6. หากคุณเลือกเฟรมเดียวในขั้นตอนที่ 2 ให้เลือก ตำแหน่งที่จะเพิ่มเฟรมจากเมนู ทวีนกับ ดังนี้

    เฟรมถัดไป

    เพิ่มเฟรมระหว่างเฟรมที่เลือกกับเฟรมต่อไป ตัวเลือกนี้จะไม่พร้อมใช้งานเมื่อคุณเลือกเฟรมสุดท้ายในแผงไทม์ไลน์

    เฟรมแรก

    เพิ่มเฟรมระหว่างเฟรมสุดท้ายกับเฟรมแรก ตัวเลือกนี้จะพร้อมใช้งานเมื่อคุณเลือกเฟรมสุดท้ายในแผงไทม์ไลน์

    เฟรมก่อนหน้า

    เพิ่มเฟรมระหว่างเฟรมที่เลือกกับเฟรมก่อนหน้า ตัวเลือกนี้จะไม่พร้อมใช้งานเมื่อคุณเลือกเฟรมแรกในแผงไทม์ไลน์

    เฟรมสุดท้าย

    เพิ่มเฟรมระหว่างเฟรมแรกกับเฟรมสุดท้าย ตัวเลือกนี้จะพร้อมใช้งานเมื่อคุณเลือกเฟรมแรกในแผงไทม์ไลน์

  7. ในกล่อง เฟรมที่จะเพิ่ม ให้ป้อนค่าหรือใช้ปุ่มลูกศรขึ้น หรือปุ่มลูกศรลงเพื่อเลือกจำนวนเฟรม (ตัวเลือกนี้ จะไม่พร้อมใช้งานหากคุณเลือกมากกว่าสองเฟรม)
  8. คลิก ตกลง

เพิ่มเลเยอร์ใหม่สำหรับแต่ละเฟรมใหม่

คำสั่ง สร้างเลเยอร์ใหม่สำหรับแต่ละเฟรมใหม่จะเพิ่ม เลเยอร์ใหม่ที่มองเห็นได้ในเฟรมใหม่ แต่จะถูกซ่อนในเฟรมอื่นๆ โดยอัตโนมัติ ตัวเลือกนี้ จะช่วยประหยัดเวลาเมื่อคุณสร้างภาพเคลื่อนไหว ที่ต้องเพิ่มองค์ประกอบภาพใหม่ลงในแต่ละเฟรม

  1. เลือกสร้างเลเยอร์ใหม่สำหรับแต่ละเฟรมใหม่จากเมนูแผงไทม์ไลน์

    เครื่องหมายถูกแสดงว่ามีการเปิดใช้งานตัวเลือกดังกล่าว

ซ่อนเลเยอร์ในเฟรมภาพเคลื่อนไหว

เมื่อคุณสร้างเลเยอร์ใหม่ จะมองเห็นได้ในเฟรมภาพเคลื่อนไหวทั้งหมด ตามค่าเริ่มต้น

  • หากต้องการแสดงเลเยอร์ใหม่เฉพาะในเฟรมที่ใช้งานอยู่ ให้ยกเลิกการเลือก เลเยอร์ใหม่ที่มองเห็นได้ในเฟรมทั้งหมด จากเมนูแผงไทม์ไลน์

  • หากต้องการซ่อนเลเยอร์ในเฟรมที่เฉพาะเจาะจง ให้เลือกเฟรมนั้น จากนั้น ซ่อนเลเยอร์ที่ต้องการในแผงเลเยอร์

ระบุการหน่วงเวลาในภาพเคลื่อนไหวแบบเฟรม

คุณ สามารถระบุ การหน่วงเวลา ซึ่งเป็นระยะเวลาที่แสดงเฟรมสำหรับ เฟรมเดียวหรือหลายเฟรมในภาพเคลื่อนไหวได้ การหน่วงเวลา จะแสดงเป็นวินาที เศษส่วนของวินาทีจะแสดงเป็น ค่าทศนิยม ตัวอย่างเช่น หนึ่งในสี่ของวินาทีจะแสดง เป็น .25 หากคุณตั้งค่าการหน่วงเวลาในเฟรมปัจจุบัน ทุกเฟรมที่คุณสร้าง หลังจากนั้นจะจดจำและใช้ค่าการหน่วงเวลานั้น

  1. เลือกเฟรมอย่างน้อยหนึ่งเฟรมในแผงไทม์ไลน์

  2. คลิกที่ค่า การหน่วงเวลา ใต้เฟรมที่เลือกเพื่อดู เมนูป๊อปอัพ
  3. ระบุการหน่วงเวลา ดังนี้
    • เลือกหนึ่งค่าจากเมนูป๊อปอัพ (ค่าสุดท้าย ที่ใช้จะปรากฏที่ด้านล่างของเมนู)

    • เลือก อื่นๆ แล้วป้อนค่าในกล่องโต้ตอบ ตั้งค่าการหน่วงเวลาของเฟรม จากนั้นคลิกตกลง หากคุณเลือกหลายเฟรม การระบุค่าหน่วงเวลาสำหรับหนึ่งเฟรมจะมีผลกับ เฟรมทั้งหมด

เลือกวิธีละทิ้งเฟรม

วิธีการละทิ้งเฟรมจะระบุว่า ให้ละทิ้งเฟรมปัจจุบันก่อนที่จะแสดงเฟรมถัดไปหรือไม่ คุณ ต้องเลือกวิธีการละทิ้งเฟรมสำหรับภาพเคลื่อนไหวที่มีพื้นหลังโปร่งใส เพื่อระบุว่าต้องการให้มองเห็นเฟรมปัจจุบัน ผ่านพื้นที่โปร่งใสของเฟรมถัดไปหรือไม่

วิธีการละทิ้งเฟรมของ Photoshop
วิธีการละทิ้งเฟรม

A. เฟรมที่พื้นหลังโปร่งใสพร้อมตัวเลือกคืนค่าเป็นพื้นหลัง B. เฟรมที่มีพื้นหลังโปร่งใสพร้อมตัวเลือก ห้ามละทิ้ง 

ไอคอนวิธีการละทิ้งที่ระบุว่าเฟรมถูกตั้งค่าเป็น ห้ามละทิ้ง  หรือ ละทิ้ง  (ไอคอน จะไม่ปรากฏขึ้นเมื่อตั้งค่าวิธีการละทิ้งเป็น อัตโนมัติ)

  1. เลือกหนึ่งเฟรมหรือหลายเฟรมที่คุณต้องการเลือก วิธีการละทิ้ง
  2. คลิกขวา (Windows) หรือกด Control แล้วคลิก (Mac OS) ที่ภาพขนาดย่อของเฟรมเพื่อดูเมนูบริบทวิธีการละทิ้ง
  3. เลือกวิธีละทิ้ง ดังนี้

    อัตโนมัติ

    กำหนดวิธีการละทิ้งสำหรับเฟรมปัจจุบันโดยอัตโนมัติ โดยละทิ้งเฟรมปัจจุบันหากเฟรมถัดไปมีเลเยอร์โปร่งใส สำหรับภาพเคลื่อนไหวส่วนใหญ่ ตัวเลือกอัตโนมัติ (ค่าเริ่มต้น) จะให้ผลลัพธ์ที่ต้องการ

    หมายเหตุ:

    หากต้องการเก็บรักษาเฟรมที่มีความโปร่งใส ให้เลือกตัวเลือกการละทิ้งอัตโนมัติเมื่อคุณใช้ ตัวเลือกการเพิ่มประสิทธิภาพการลบพิกเซลซ้ำ

    ห้ามละทิ้ง

    เก็บรักษาเฟรมปัจจุบันเมื่อมีการเพิ่มเฟรมถัดไป ไปยังจอแสดงผล เฟรมปัจจุบัน (และเฟรมก่อนหน้า) จะแสดง ผ่านพื้นที่โปร่งใสของเฟรมถัดไป ใช้เบราว์เซอร์เพื่อดู ตัวอย่างภาพเคลื่อนไหวที่ถูกต้องเมื่อใช้ตัวเลือกห้ามละทิ้ง

    ละทิ้ง

    ละทิ้งเฟรมปัจจุบันจากจอแสดงผลก่อนที่เฟรมถัดไปจะแสดงขึ้น มีเพียงเฟรมเดียวเท่านั้นที่จะปรากฏขึ้นในแต่ละครั้ง (และเฟรมปัจจุบันจะไม่ปรากฏผ่านพื้นที่โปร่งใสของเฟรมถัดไป)

ระบุการวนซ้ำของภาพเคลื่อนไหวแบบเฟรม

คุณต้องเลือกตัวเลือกการวนซ้ำเพื่อระบุ จำนวนครั้งที่จะให้วนซ้ำเมื่อเล่นลำดับภาพเคลื่อนไหว

  1. คลิกช่อง การเลือกตัวเลือกการวนซ้ำ ที่มุมซ้ายล่างของแผงไทม์ไลน์

  2. เลือกตัวเลือกการวนซ้ำ ได้แก่ หนึ่งครั้ง, 3 ครั้ง, ตลอดเวลา หรืออื่นๆ
  3. หากคุณเลือก อื่นๆ ให้ป้อนค่าในกล่องโต้ตอบ ตั้งค่าจำนวนครั้งของการวนซ้ำ แล้วคลิกตกลง
    หมายเหตุ:

    นอกจากนี้ยังสามารถตั้งค่าตัวเลือกการวนซ้ำในกล่องโต้ตอบบันทึกสำหรับเว็บได้เช่นกัน 

ลบภาพเคลื่อนไหวทั้งหมด

  1. เลือก ลบภาพเคลื่อนไหว จากเมนูแผงไทม์ไลน์


รับความช่วยเหลือได้เร็วและง่ายกว่าเดิม

หากคุณเป็นผู้ใช้ใหม่